การนำมาใช้ประโยชน์
1. ใช้สำหรับเป็นส่วนผสมสำหรับประเทืองผิว
และในด้านความสวยความงามต่างๆ
2. ใช้เป็นสารปรับปรุงดิน
เนื่องจากมีส่วนประกอบของแคลเซียมคาร์บอเนตเป็นส่วนใหญ่ที่ให้ความเป็นด่างได้ดีสำหรับปรับสภาพดินที่เป็นกรด
และสำหรับการฆ่าเชื้อในดิน นอกจากนั้น ยังมีส่วนประกอบของแร่ธาตุอื่นๆ เช่น แมกนีเซียม
ฟอสฟอรัส โพแทสเซียม โซเดียมที่อยู่ในรูปสารประกอบต่างๆ
สามารถเป็นแร่ธาตุอาหารให้แก่พืชได้
3. ใช้สำหรับการปรับความเป็นกรด-ด่าง
ของน้ำ ทำให้น้ำมีสภาพเป็นด่างมากขึ้น เช่น กระบวนการบำบัดน้ำเสีย หรือ
เติมปรับสภาพน้ำในแหล่งน้ำขังตามบ้าน ฟาร์ม แปลงเกษตร เป็นต้น
4. ใช้สำหรับการฆ่าเชื้อในดิน
ฆ่าเชื้อในแหล่งน้ำ เช่น ใช้โรยฆ่าเชื้อบริเวณฟาร์มหรือคอกปศุสัตว์ เป็นต้น
5. ใช้ในงานไม้ งานก่อสร้าง เช่น
การรองพื้นก่อนทาสี การปะปิดร่องหรือรูไม้ รูผนังปูน เป็นต้น
6. ใช้ในอุตสาหกรรมต่างๆ อาทิ
– อุตสาหกรรมผลิตปูน เช่น
เป็นส่วนผสมของการผลิตปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์ ปูนซีเมนต์ขาว
– อุตสาหกรรมแปรรูปไม้ เช่น ใช้ขัดผิวไม้
ขัดเฟอร์นิเจอร์
– อุตสาหกรรมขึ้นรูปโลหะ เช่น
ใช้ขัดทำความสะอาดผลิตภัณฑ์ทอง ทองแดง เงิน นาค อะลูผลิตภัณฑ์โลหะอื่นๆ
การใช้ประโยชน์ด้านร่างกาย
1.
ใช้สำหรับผสมน้ำให้ข้นหรือทำเป็นแป้งน้ำแล้วทาประทินผิวบริเวณใบหน้า รักษาสิว
ลดความมัน ป้องกันแบคทีเรีย ซึ่งอาจจะผสมผงสมุนไพรเพื่อให้มีลักษณะน่าใช้
มีกลิ่นหอม และมีประโยชน์มากขึ้น
2.
ใช้เป็นส่วนผสมของสบู่เพื่อให้มีลักษณะเนื้อนวลขึ้น
3. ใช้เป็นส่วนผสมของน้ำอบทาบริเวณผิวหนังแก้ผดผื่นคัน
4.
ใช้เป็นส่วนผสมสำหรับการทำน้ำแป้งทาหน้า และร่างกาย
5. ใช้สำหรับการขัดหน้า
ขัดผิวกายให้สะอาด
6. ใช้ผสมสมุนไพรในการขับพิษ
แก้อาการบวมร้อน ผดผื่น ตามร่างกาย
ข้อแนะนำ
– การใช้ดินสอพองในการพอกหน้าอาจทำให้หน้าตึง
และลดความชุ่มชื้นได้ เนื่องจากดินสอพองสามารถดูดซับความชื้นได้ดี
และเมื่อละลายน้ำจะมีฤทธิ์เป็นด่าง โดยเฉพาะดินสอพองที่มีลักษณะเป็นผงสีขาวมาก
เพราะมีความบริสุทธิ์ของแคลเซียมคาร์บอเนตสูง
– ดินสอพองที่ผลิตไม่ควรใกล้แหล่งโลหะหนักหรือไม่ควรมีโลหะหนักปะปน
เช่น ตะกั่ว ปรอท แคดเมียม เป็นต้น
– การใช้ดินสอพองแบบผง เช่น การหว่านโรย
ควรสวมผ้าปิดจมูกทุกครั้งเพื่อป้องกันการสูดดมเข้าร่างกาย
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น